Thursday, October 7, 2010

สถานที่ท่องเที่ยวจังหวัดภูเก็ต


อนุสาวรีย์วีรสตรี

อนุสาวรีย์ท้าวเทพกษัตรีและท้าวศรีสุนทร ตั้งอยู่ที่สี่แยกท่าเรือ สร้างเป็นรูปปั้นสุภาพสตรีมีเครื่องแต่งกายอย่างหญิงมีบรรดาศักดิ์สมัยรัตน โกสินทร์ตอนต้น คือนุ่งผ้าจีบ ห่มสไบคลุมมีอย่างน้อย ไว้ผมทรงดอกกระทุ่ม ในมือถือดาบ ในลักษณะเตรียมพร้อมที่จะปกปักรักษาบ้านเมือง






แหลมพรหมเทพ

แหลมพรหมเทพ อยู่ห่างจากหาดราไวประมาณ 2 กิโลเมตร เป็นแหลมที่อยู่-ตอนใต้สุดของเกาะภูเก็ต ชาวบ้านเรียกว่าแหลมเจ้า บริเวณแหลมพรหมเทพ เป็นส่วนที่สวยงามที่สุดส่วนหนึ่งของเกาะ-ภูเก็ต เหนือแหลมพรหมเทพเป็นที่ราบสำ หรับจอดรถ ซึ่งอยู่บนหน้าผาสูงริม-ทะเล จากหน้าผานี้จะมองเห็นแหลม-พรหมเทพ ทอดยาวออกไปในทะเล ทะเลจะเห็นเกาะหลายเกาะ รวมทั้งเกาะแก้วพิสดาร ทางด้านขวามือจะเห็นแนว หาดทรายของหาดในหานชัดเจน จากบนหน้าผามีทางเดินลงเขาไปจนถึงสุดแหลมพรหมเทพได้ เป็นสถานที่ชม พระอาทิตย์ตกได้งดงามยิ่งนัก



หาดกะตะ

อยู่ห่างจากตัวเมืองภูเก็ต 17 กิโลเมตร ไปตามเส้นทางถนนเจ้าฟ้าถึงห้าแยกฉลองเลี้ยวขวาไปตามถนนหมายเลข 4028




หาดกะรน

อยู่ถัดจากหาดกะตะไปทางเหนือ มีเพียงเนินเขาเตี้ย ๆ คั่นอยู่เท่านั้น เป็นชายหาดที่ยาวที่สุดในเกาะ ภูเก็ต ตั้งอยู่ตอนไต้ของเกาะ และเพราะความยาวของหาดนี่เอง ทำให้คลื่นลมค่อนข้างรุนแรงจนอาจไม่แนะนำผู้ที่ไม่สันทัดการว่ายน้ำเล่นน้ำ ในบริเวณหาดนี้ แต่ถ้าหากท่านต้องการเพียงพักผ่อนริมชายหาด ที่นี่อาจเป็นสถานที่ที่เหมาสำหรับท่าน เพราะผู้คนไม่พลุกพล่านเหมือนหาดป่าตองและหาดกะตะ

Tuesday, October 5, 2010

การเดินทางจังหวัดภูเก็ต

ภูเก็ตอยู่ห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ 862 กิโลเมตร นักท่องเที่ยวสามารถเดินทางสู่จังหวัดภูเก็ตได้หลายวิธี ทั้งทางรถยนต์ส่วนตัว รถประจำทาง และเครื่องบิน

การเดินทางไป ภูเก็ต

โดยรถยนต์:
จากกรุงเทพฯ สามารถไปได้ 2 เส้นทาง คือ

1. ใช้ทางหลวงหมายเลข 35 (ถนนพระราม 2 หรือถนนธนบุรี-ปากท่อ) ผ่านสมุทรสาคร สมุทรสงคราม อำเภอปากท่อ แล้วแยกซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข 4 (เพชรเกษม) ผ่านจังหวัดเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ จนถึงชุมพร แล้วใช้ทางหลวงหมายเลข 41 ผ่านอำเภอหลังสวน อำเภอท่าฉาง แล้วแยกขวาเข้าสู่ทางหลวงหมายเลข 401 ไปจนบรรจบกับทางหลวงหมายเลข 4 ที่อำเภอตะกั่วป่า แยกซ้ายผ่านอำเภอท้ายเหมือง บ้านโคกกลอย แล้วข้ามสะพานสารสินเข้าสู่จังหวัดภูเก็ต

2. ใช้ทางหลวงหมายเลข 35 (ถนนพระราม 2 หรือถนนธนบุรี-ปากท่อ) ผ่านสมุทรสาคร สมุทรสงคราม อำเภอปากท่อ แล้วแยกซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข 4 (เพชรเกษม) ผ่านจังหวัดเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ระนอง พังงา ไปจนถึงภูเก็ต รวมระยะทางประมาณ 862 กิโลเมตร

โดยรถประจำทาง:
มีรถโดยสารธรรมดาและรถโดยสารปรับอากาศของบริษัท ขนส่ง จำกัด และของเอกชน สายกรุงเทพฯ-ภูเก็ต ออกจากสถานีขนส่งสายใต้ ถนนบรมราชชนนี ทุกวัน วันละหลายเที่ยว ใช้เวลาเดินทางประมาณ 12 ชั่วโมง สอบถามรายละเอียดได้ที่บริษัท ขนส่ง จำกัด โทร.1490 www.transport.co.th

ปัจจุบัน บริษัท ขนส่ง จำกัด ได้เปิดให้บริการจองตั๋วรถโดยสารออนไลน์แล้ว ติดต่อได้ที่ www.thaiticketmajor.com นอกจากนี้ยังสามารถซื้อตั๋วออนไลน์ได้ที่ไทยรูท ดอทคอม www.thairoute.com

โดยเครื่องบิน:
การบินไทย บางกอกแอร์เวย์ส ไทยแอร์เอเชีย นกแอร์ และวัน ทู โก มีเที่ยวบินไป-กลับ กรุงเทพฯ-ภูเก็ต ทุกวัน สอบถามข้อมูลการเดินทาง ตารางเที่ยวบิน และสำรองที่นั่งได้ที่

การบินไทย โทร. 0 2356 1111 www.thaiairways.co.th

บางกอกแอร์เวย์ส โทร. 0 2270 6699 www.bangkokair.com

ไทยแอร์เอเชีย โทร. 0 2515 9999 www.airasia.com

นกแอร์ โทร. 1318 www.nokair.com

วัน ทู โก โทร. 1126 www.fly12go.com

การเดินทางภายใน ภูเก็ต

ในตัวจังหวัดภูเก็ตมีรถชนิดต่างๆ ให้บริการ นักท่องเที่ยวสามารถเลือกใช้บริการยานพาหนะต่างๆ ได้หลายรูปแบบตามความเหมาะสม

มอเตอร์ ไซค์รับจ้าง มีจอดอยู่ตามจุดต่างๆ และมีรถตุ๊กตุ๊กและรถสองแถวบริการไปตามสถานที่ต่างๆ ทั่วเกาะภูเก็ต สามารถขึ้นรถได้บริเวณตลาดสดใกล้วงเวียนน้ำพุ ถนนระนอง ค่าโดยสารขึ้นอยู่กับระยะทาง นักท่องเที่ยวอาจเหมารถสองแถวไปเที่ยวได้ทั้งในเมืองและต่างอำเภอ คิดราคาขึ้นอยู่กับระยะทางและการต่อรอง

จากสนามบิน สามารถใช้บริการรถแท็กซี่เข้าตัวเมืองภูเก็ตหรือไปยังหาดต่างๆ ในอัตราค่าบริการตามระยะทาง และมีบริการ Airport Bus เข้าตัวเมืองภูเก็ต ส่วนในตัวเมืองก็มีบริการรถตู้ปรับอากาศและรถแท็กซี่รับส่งไปสนามบิน

ระยะทางจากอำเภอเมืองภูเก็ตไปยังอำเภอต่างๆ คือ

อำเภอกะทู้ 10 กิโลเมตร

อำเภอถลาง 19 กิโลเมตร

ข้อมูลจังหวัดภูเก็ต


"ไข่มุกอันดามัน สวรรค์เมืองใต้ หาดทรายสีทอง สองวีรสตรี บารมีหลวงพ่อแช่ม"

จังหวัดภูเก็ต หรือเกาะภูเก็ต ตั้งอยู่ริมชายฝั่งทะเลด้านตะวันตก ในน่านน้ำทะเลอันดามัน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของมหาสมุทรอินเดีย เป็นเมืองท่องเที่ยวสำคัญอันดับต้นๆ ของประเทศและมีชื่อเสียงไปทั่วโลก เพราะมีธรรมชาติสวยงาม ทั้งชายทะเลและขุนเขา โดดเด่นด้วยหาดทรายขาวราวกับแป้ง และน้ำทะเลสีครามสวยสดใส เปรียบได้กับ “ไข่มุก” แห่งท้องทะเลอันดามัน อีกทั้งยังมีแหล่งท่องเที่ยวสำคัญของจังหวัดอื่นๆ รายล้อมในระยะใกล้เคียง

ภูเก็ต เพียบพร้อมไปด้วยสิ่งอำนวยความสะดวกทุกรูปแบบครบครัน และที่สำคัญคือเป็นที่ตั้งของสนามบินนานาชาติ ที่ช่วยเพิ่มศักยภาพในการรองรับนักท่องเที่ยวจากทั่วโลกให้กับภูเก็ตได้เป็น อย่างดี

ปัจจุบันภูเก็ตเป็นเมืองศูนย์กลางการท่องเที่ยวของชายฝั่ง ทะเลอันดามัน ที่มีนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติหลั่งไหลไปเยี่ยมเยือนปีละหลาย ล้านคน

จังหวัดภูเก็ตมีเนื้อที่ประมาณ 543 ตารางกิโลเมตร หรือ 339,375 ไร่ เป็นจังหวัดที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 75 ของประเทศ หรือมีขนาดเล็กที่สุดเป็นอันดับที่ 2 ของประเทศ รองจากจังหวัดสมุทรสงคราม แต่เป็นเกาะที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของประเทศไทย มีความยาวของเกาะวัดจากทิศเหนือถึงทิศใต้ประมาณ 48.7 กิโลเมตร และส่วนกว้างที่สุดวัดจากทิศตะวันออกถึงทิศตะวันตกประมาณ 21.3 กิโลเมตร ทั้งเกาะล้อมรอบด้วยทะเลอันดามัน และมีเกาะใหญ่น้อยที่อยู่ในอาณาเขตของจังหวัดภูเก็ตแวดล้อมอยู่อีกถึงกว่า 30 เกาะ

คำว่า “ภูเก็ต” นั้น เชื่อว่าเพี้ยนมาจากภาษามลายูคือ “บูกิ๊ต” ซึ่งแปลว่าภูเขา และเดิมใช้คำว่า “ภูเก็จ” ซึ่งในภาษาของชาวทมิฬ แปลว่า “ภูเขาแก้ว” เป็นคำที่ชาวทมิฬใช้เรียกมณีคราม นอกจากนี้ภูเก็ตยังมีชื่ออื่นๆ ที่ถูกเรียกขานมาตั้งแต่อดีตอีกหลายชื่อ เช่น แหลมตะโกลา จังซีลอน สิลัน ถลาง และทุ่งคา เป็นต้น

ภูเก็ตเป็น เมืองที่มีประวัติศาสตร์ยาวนาน ในอดีตเคยเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรตามพรลิงก์ จนถึงสมัยกรุงสุโขทัยก็ได้ไปขึ้นอยู่กับเมืองตะกั่วป่า เป็นเกาะที่มีชื่อเสียงในฐานะเป็นดินแดนแห่งเศรษฐีเหมืองแร่ดีบุก เพราะมีแร่ดีบุกอยู่มากที่สุดในประเทศ โดยมีการขุดหาแร่กันมายาวนานถึงกว่า 500 ปีแล้ว ตัวเมืองในอดีตนั้นเป็นเมืองเล็กๆ อยู่ที่ถลาง มีขุนนางไทยคอยดูแลรักษาผลประโยชน์จากการซื้อขายแร่กับชาวต่างชาติ นอกจากการทำเหมืองแร่แล้ว ยังมีการปลูกยางพารา ทำสวนมะพร้าว สวนผลไม้ และทำการประมงด้วย

ต่อมาในปี พ.ศ. 2328 ตรงกับรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 ได้เกิดสงครามเก้าทัพขึ้น พม่าได้ยกกองทัพเข้ามารุกรานหัวเมืองฝ่ายตะวันตกแถบชายทะเลของไทย ตั้งแต่เมืองระนอง ชุมพร ไชยา ไปจนถึงเมืองนครศรีธรรมราช ขณะนั้นกองทัพของกรุงเทพฯ ยังติดพันศึกสงครามอยู่ที่กาญจนบุรี ไม่สามารถยกทัพลงมาช่วยได้ทัน พม่าจึงตีได้เมืองตะกั่วทุ่ง ตะกั่วป่า แล้วตั้งค่ายล้อมเมืองถลางไว้เพื่อรอเข้ายึด ประจวบกับในขณะนั้นพระยาถลาง (พญาพิมลอัยาขัน) เพิ่งถึงแก่อนิจกรรมและยังไม่ได้มีการตั้งเจ้าเมืองใหม่ ท่านผู้หญิงจัน ภริยาของท่าน กับน้องสาวชื่อ “มุก” จึงรวบรวมกำลังพลและชาวเมือง ช่วยกันตั้งค่ายใหญ่ขึ้น 2 ค่าย เพื่อปกป้องรักษาบ้านเมืองไว้ ทำให้พม่าไม่สามารถตีฝ่าเข้ามาได้ พม่าตั้งค่ายล้อมเมืองถลางได้ประมาณเดือนกว่าก็หมดเสบียง จึงต้องถอยทัพกลับไปในที่สุด

วีรกรรมของผู้นำหญิงทั้ง 2 ท่านในครั้งนี้ นับเป็นการกระทำอันหาญกล้าและมีประโยชน์ใหญ่หลวงต่อประเทศชาติ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชจึงโปรดเกล้าฯ พระราชทานเครื่องยศให้ท่านผู้หญิงจันเป็น “ท้าวเทพกระษัตรี” และคุณมุกเป็น “ท้าวศรีสุนทร” เป็นที่ภาคภูมิใจแก่ชาวเมืองถลางมาจนถึงทุกวันนี้

ต่อ มาในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ได้ทรงรวบรวมหัวเมืองชายทะเลตะวันตกตั้งเป็น “มณฑลภูเก็จ” และในปี พ.ศ. 2476 ได้มีการยกเลิกระบบมณฑลเทศาภิบาลทั่วประเทศ “มณฑลภูเก็จ” จึงเปลี่ยนมาเป็น “จังหวัดภูเก็ต” นับแต่นั้นมา

ปัจจุบันจังหวัดภูเก็ตแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองภูเก็ต อำเภอถลาง และอำเภอกะทู้